ประโยชน์แต่ละด้าน และการนำไปใช้งานของพลาสติกแต่ละชนิด พลาสติกเป็นวัสดุที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในหลายๆ ด้านในปัจจุบันนี้ เราสามารถที่จะพบเห็นพลาสติกได้ทั่วไป ไม่ว่าจะภาชนะรองรับอาหาร เครื่องแต่งกาย ของใช้อื่นๆ มากมาย ซึ่งคุณเคยสงสัยหรือไม่ว่าพลาสติกที่เราๆ เห็นกันอยู่ในปัจจุบันนี้มีแบบใดบ้าง แล้วตัวไหนที่สร้างประโยชน์ในด้านใด ซึ่งเราสามารถที่จะจัดแบ่งประเภทของคลาสติกได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น ทางเคมี(Chimistry),คุณสมบัติหรือพฤติกรรม(Behavior) และลักษณะภายนอก(Structure) รวมไปถึงคุณสมบัติเมื่อผ่านความร้อน ที่สามารถจัดแบ่งได้ 2 รูปแบบ ดังต่อไปนี้
เทอร์โมพลาสติก
รูปแบบที่ 1 คือ เทอร์โมพลาสติก(Thermoplastic) หรือที่เรียกว่าเรซิ่น เป็นเม็ดพลาสติกที่นิยมใช้กันมากที่สุดในโลก เนื่องจากเวลาที่ได้รับความร้อนจะอ่อนตัว และเมื่อเย็นลงก็จะแข็งตัว สามารถที่จะปรับเปลี่ยนรูปได้ โดยพลาสติกรูปแบบนี้โครงสร้างโมเลกุลเป็นลักษณะโซ่ตรงยาว มีการเชื่อมต่อระหว่างโซ่พอลิเมอร์ค่อนข้างน้อยมาก เมื่อผ่านการอัดแรงที่มากจึงไม่ทำลายในส่วนของโครงสร้างเดิมหรือหลอมเหลวได้ง่ายนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น พอลิไวนิลคลอไรด์ พอลิโพรพิลีน พอลิสไตรีน และพอลิเอทิลีน ที่จะมีคุณสมบัติพิเศษ เพื่อทำการหลอมแล้วก็สามารถที่จะขึ้นรูปนำกลับมาใช้ได้ใหม่ โดยชนิดของพลาสติกตระกูลเทอร์โมพลาสติก คือ
- พอลิโพรพิลีน
พอลิโพรพิลีน (Polypropylene หรือ PP) เป็นเม็ดพลาสติกที่ไอน้ำซึมผ่านเข้าได้เล็กน้อย จะแข็งกว่าพอลิเอทิลีน ทนทานต่อสารไขมันและความร้อนที่สูง ใช้สำหรับทำแผ่นพลาสติกหลอดดูดพลาสติก และถุงพลาสติกที่บรรจุของร้อนหรืออาหาร ทนร้อนได้เป็นอย่างดี
- พอลิเอทิลีน
พอลิเอทิลีน (Polyethylene หรือ PE) เป็นเม็ดพลาสติกที่อากาศสามารถผ่านเข้าออกได้ มีไอน้ำที่ซึมผ่านเล็กน้อย ทนความร้อนได้พอสมควร มีลักษณะที่ขุ่น เป็นพลาสติกที่คนนิยมใช้มากที่สุดในการอุตสาหกรรม ยกตัวอย่างเช่น ถุง ถัง ขวด หรือท่อน้ำ เป็นต้น
- พอลิไวนิลคลอไรด์
พอลิไวนิลคอลไรด์ (Polyvinylchloride หรือ PVC) เป็นเม็ดพลาสติกที่มีอากาศและไอน้ำสามารถซึมผ่านได้พอสมควร ใช้ในการป้องกันไขมันได้อย่างดีเยี่ยม มีลักษณะที่ใส สามารถใช้ทำขวดที่บรรจุไขมันปรุงอาหาร บรรจุน้ำมัน รวมไปถึงขวดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น เบียร์ ไวน์ และใช้สำหรับทำแผ่นพลาสติกห่อเนยแข็ง เป็นต้น
- พอลิสไตรีน
พอลิสไตรีน (Polystyrene หรือ PS) เป็นเม็ดพลาสติกที่อากาศและไอน้ำสามารถที่จะซึมผ่านได้พอสมควร มีความเปราะ ลักษณะโปร่งใส ทนทานต่อด่างและกรด ใช้สำหรับทำเครื่องอุปกรณ์สำนักงาน ชิ้นส่วนของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ
- ไนลอน
ไนลอน (Nylon) เป็นเม็ดพลาสติกที่มีความเหนียวเป็นอย่างมาก ทนทานต่อการเพิ่มอุณหภูมิ ใช้สำหรับทำถุงพลาสติกเพื่อบรรจุอาหารในรูปแบบสุญญากาศหรือที่เรียกว่าแผ่นแลมิเนต
- SAN
SAN หรือ styrene-acrylonitrile เป็นพลาสติกที่มีความโปร่ง ใช้สำหรับการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนต่างๆเกี่ยวกับยานยนต์ เป็นต้น
- ABS
ABS หรือ acrylonitrile-butadiene-styrene เป็นพลาสติกที่มีลักษณะคล้ายกับพอลิสไตรีน แต่สามารถทนต่อสารเคมีได้ดีกว่า มีลักษณะเหนียว มีความโปร่งแสง สำหรับการใช้ผลิตถาด ถ้วย จาน เป็นต้น
- พอลิคาร์บอเนต
พอลิคาร์บอเนต Polycarbonate หรือ PC เป็นพลาสติกที่มีลักษณะแข็ง โปร่งใส สามารถทนต่อแรงกระแทก แรงยึดได้เป็นอย่างดี ทนกรด ทนความร้อน แต่ไม่ทนด่าง ค่อนข้างจับยาก เป็นคราบอาหาร เป็นรอย ใช้สำหรับทำจาน ชาม ถ้วน ขวดบรรจุอาหารเด็กหรือขวดนมเด็ก
- พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต
พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (Polyethylene terephthalate หรือ PET) เป็นพลาสติกที่มีความเหนียวมาก ราสูง โปร่งใส ใช้สำหรับทำแผ่นฟิล์มยืดบางๆที่ใช้ในการบรรจุอาหารนั่นเอง
เทอร์โมเซตติงพลาสติก
เทอร์โมเซตติงพลาสติก หรือ Thermosetting plastic เป็นเม็ดพลาสติกที่มีคุณสมบัติพิเศษ นั่นก็คือสามารถทนทานต่อปฏิกิริยาทางเคมีได้ สามารถเปลี่ยนอุณหภูมิได้ดี อีกทั้งยังเกิดรอยเปื้อนและคราบได้ค่อนข้างยาก เมื่อผ่านแรงดันหรือความร้อนก็สามารถที่จะคงรูปได้เพียงครั้งเดียว เมื่อเย็นลงแล้วจะแข็งมาก สามารถทนความดันและความร้อนได้เป็นอย่างดี แต่เปลี่ยนรูปไม่ได้ ไม่อ่อนตัว ถ้าเจออุณหภูมิที่สูงก็จะไหม้และแตกเป็นขี้เถ้าสีดำ โดยพลาสติกรูปแบบนี้จะมีโมเลกุลที่เชื่อมโยงกันเป็นร่างแหจับตัวกันแน่น ซึ่งแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลจะแข็งแรงมาก จึงไม่สามารถที่จะนำมาหลอมเหลวได้ นั่นก็คือ เกิดการเชื่อมต่อที่ข้ามไปมาระหว่างสายโซ่ของโมเลกุลพอลิเมอร์ ซึ่งจะเกิดหลังจากที่พลาสติกเย็นจนแข็งตัวแล้ว ไม่สามารถทำให้อ่อนตัวได้โดยการใช้ความร้อน แต่สลายทันทีที่มีอุณหภูมิสูง โดยเทอร์โมเซตติงพลาสติก มีดังต่อไปนี้
- เมลามีน ฟอร์มาลดีไฮด์ ใช้สำหรับทำภาชนะบรรจุอาหารหลากหลายชนิด มีสีสวยงาม นิยมใช้กันมาก
- ฟีนอลฟอร์มาดีไฮต์ ใช้สำหรับทำหม้อหรือฝาจุกขวด
- พอลิเอสเตอร์ ใช้สำหรับทำพลาสติกเพื่อเคลือบผิวเส้นใย ขวดน้ำ ยางหรือฟิล์ม
- อีพ็อกซี ใช้สำหรับเคลือบผิวท่อเก็บก๊าซ อุปกรณ์ต่างๆ ภายในครบเรือน เชื่อมประกอบโลหะ เซรามิกหรือแก้ว ใช้ในการเป็นส่วนประกอบของอุปกรณ์ไฟฟ้า เส้นใยของท่อความดัน ใช้สำหรับเคลือบผิวของผนังและพื้น รวมไปถึงวัสดุของแผ่นที่กำบังนิวครอน ปูนขาวหรือซีเมนต์
และนี่ก็เป็นประเภทของรูปแบบในการใช้งานประโยชน์ด้านต่างๆ ของพลาสติก ที่จะทำให้คุณเข้าใจและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้เป็นอย่างดี